มาตรฐาน
มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
มาตรฐาน
มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
ตัวชี้วัด
ท 5.1 ม.4-6/1 วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น
ท 5.1 ม.4-6/2 วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีที่เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของสังคมในอดีต
ท 5.1 ม.4-6/3 วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีและวรรณกรรมในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
ท 5.1 ม.4-6/4 สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตรจริง
แนวคิด
หัวใจชายหนุ่ม มีเนื้อหาแสดงให้เห็นถึงการรับวัฒนธรรมตะวันตกในสังคมไทยโดยนำเสนอผ่านชีวิตของหนุ่มนักเรียนนอกที่เพิ่งจบการศึกษาจากประเทศอังกฤษมีการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่องเพื่อถ่ายทอดความคิดและสภาพสังคมไทยในขณะนั้น
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรี พัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2423 เมื่อ พระชนมายุ 8 พรรษา ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรม ขุนเทพทวาราวดี และต่อมาทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร แทนสมเด็จพระบรมเชษฐา เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งสวรรคต และได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ.2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักปราชญ์ (ทรงได้รับการถวายพระ ราชสมัญญาว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า) และทรงเป็นจินตกวีที่ทรงเชี่ยวชาญทาง ด้านอักษรศาสตร์โบราณคดี มีพระราชนิพนธ์ร้อยแก้วร้อยกรองทั้งภาษาไทยและอังกฤษ มากกว่า 200 เรื่อง ทรงใช้นามแฝงต่างๆกัน เช่น อัศวพาหุ รามจิตติ ศรีอยุธยา พันแหลม นายแก้วนายขวัญ ฯลฯ พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา
ลักษณะคำประพันธ์
ฉันทลักษณ์ ร้อยแก้ว ผ่านนวนิยายขนาดสั้นในรูปแบบจดหมาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้นามแฝงว่า รามจิตติ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์ ได้ทราบความเห็นและความเป็นไปของชาหนุ่ม โดยใช้รูปแบบของจดหมายจำนวน 18 ฉบับ
เรื่องย่อ
นายประพันธ์ ประยูรสิริ เป็นหนุ่มไทยที่เดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาก็เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ ขณะเดินทางก็เขียนจดหมายถึงเพื่อนชื่อ นายประเสริฐ สุวัฒน์ ที่ยังคงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เขียนเล่าเรื่องราวเมื่อกลับมาถึงเมืองไทยโดยผ่านจดหมาย ๑๘ ฉบับ ด้วยการระบายความรู้สึกที่คิดถึงประเทศอังกฤษและคนรักชาวอังกฤษ
การเดินทางกลับเมืองไทยในครั้งนี้ ประพันธ์ต้องเข้ารับราชการด้วยการฝากเข้าตามเส้นสายซึ่งเขาไม่ชอบ แต่เขาก็ไม่สามารถหางานทำเองได้ และพ่อได้เตรียมหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ชื่อ แม่กิมเน้ย ซึ่งประพันธ์ไม่ประทับใจ ด้วยเห็นว่าแม่กิมเน้ยหน้าตาเหมือนนางชุนฮูหยิน สวมเครื่องประดับมากเกินไป ดูพะรุงพะรังราวต้นคริสต์มาส และที่สำคัญประพันธ์ไม่ชอบการแต่งงานแบบคลุมถุงชน
ประพันธ์ไม่มีความสุขเพราะไม่มีสถานเริงรมย์ให้เลือกเที่ยวมากมายเหมือนที่อังกฤษ แต่เขาเริ่มมีความสุขเพลิดเพลินขึ้นมาอีกครั้งเมื่อได้รู้จักกับหญิงชื่อ อุไร สาวงามที่มีความทันสมัยไม่ต่างจากสาวฝรั่ง
ประพันธ์และอุไรคบหากันอย่างสนิทสนมและออกเที่ยวเตร่ด้วยกันจนทำให้อุไรเกิดตั้งครรภ์และพ่อต้องจัดการแต่งงานทั้งๆที่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก หลังจากแต่งงานอุไรยังชอบเที่ยวเตร่และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยจนทั้งสองมีปากเสียงกัน ทำให้อุไรหันไปคบกับชายคนใหม่ชื่อ พระยาตระเวนนคร ทั้งๆที่เขามีภรรยาแล้วถึง ๗ คน ในที่สุดประพันธ์และอุไรก็ต้องหย่าขาดกัน
ครั้นประพันธ์ได้เลื่อนยศเป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ อุไรจึงได้กลับมาขอคืนดี เพราะพระยาตระเวนนครมีภรรยาสาวคนใหม่จึงขอบ้านที่เธออยู่คืน แต่ประพันธ์ไม่ใจอ่อนและแนะนำให้เธอกลับไปอยู่บ้านพ่อ ไม่นานอุไรก็แต่งงานใหม่กับ หลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าที่มีฐานะดี ทำให้ประพันธ์รู้สึกโล่งใจเป็นอย่างมาก
ต่อมาประพันธ์ได้พบกับหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ ศรีสมาน และรู้สึกพึงใจในตัวเธอมาก ทั้งนี้ผู้ใหญ่สองฝ่ายก็ชอบพอกัน ประพันธ์จึงหวังว่าจะแต่งงานครองคู่อยู่กับศรีสมานอย่างมีความสุขยั่งยืนในอนาคต
ประวัติความเป็นมา และความสำคัญของเรื่องหัวใจชายหนุ่ม
วิเคราะห์บทเด่นของวรรณคดีหัวใจชายหนุ่ม
สรุปเนื้อหาในจดหมาย
ฉบับที่ ๑ ( ๒๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เขียนจดหมายฉบับแรก ในระหว่างที่กำลังนั่งเรือ โอยามะ มะรู ผ่านทะเลแดงเล่าบรรยายถึงความเสียใจที่กลับไปยังประเทศไทยและการดูถูกประเทศบ้านเกิดของตนเอง ว่าเป็นประเทศที่อันศิวิไลซ์ แตกต่างจากประเทศอังกฤษ นอกจากนี้ ยังเล่าถึงเหตุการณ์ที่เดินขึ้นบนเรือให้ฟัง คือการได้พบปะกับหญิงสาวคนหนึ่งที่เขาสนใจ เธอคือมิสส์มิลเล่อร์ เนื่องด้วยเธอมีลักษณะคล้ายกับลิลี่ แฟนเก่าของเขา จึงชวนพูดคุย และได้รู้ว่าเธอนั้นกำลังจะไปที่ประเทศอียิปต์ เมื่อถึงที่หมาย เขาก็แอบหวังที่เธอจะมีท่าทีเสียใจ แต่ว่าต้องผิดหวัง เพราะเธอนั้นมีคนรักที่มารอรับที่ท่าเรืออยู่แล้ว
ฉบับที่ ๔ ( ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เล่าถึงการพบปะผู้คนหลังมากมายหลังกลับมา แนวคิดของคุณพ่อของเขาที่ไม่คิดว่าคนจะได้ดีจากความสามารถของตนเอง และการเข้ารับราชการในพระราชสำนัก ซึ่งตำแหน่งทั้งหมดนั้นเต็มหมดแล้ว คุณพ่อของเขาจึงใช้เส้นสายโดยการพาไปคุยกับเจ้าคุณผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก แต่ก็ไม่ได้ผล นายประพันธ์จึงขอคุณพ่อของเขาทำอาชีพค้าขาย แต่ก็ถูกปฎิเสธ เพราะท่านเห็นว่า การค้าขายนั้นไม่มีหนทางที่จะเป็นใหญ่เป็นโตได้ นอกจากนี้ เขายังเล่าถึงการโดนจับคลุมถุงชนของตนกับแม่กิมเน้ย ลูกสาวของนายอากรเพ้ง ที่พ่อของนายประพันธ์รับรองว่าเป็นคนดี สมควรแก่เขาทุกประการ แต่ด้วยความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ทำให้เกิด-งกัน และได้ข้อสรุปว่า จะให้ไปดูตัวกันเสียก่อน และยังได้เล่าถึง การพบปะผู้หญิงคนหนึ่งที่เขาถูกใจที่โรงภาพยนตร์พัฒนากรอีกด้วย
ฉบับที่ ๕ ( ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เล่าถึงการได้เข้ารับทำงานราชการ ในตำแหน่งราชการในกรมพานิชย์และสถิติพยากรณ์ ว่ายังไม่มีอะไรพิเศษนัก และการดูตัวแม่กิมเน้ย เขาบอกว่าหน้าตาของหล่อนนั้นเหมือนนางซุนฮูหยิน การแต่งกายค่อนข้างพะรุงพะรังเหมือนต้นคริสต์มาส ยังไม่ถูกใจเขาเท่าไหร่ นอกจากนั้น เขาได้เล่าถึงผู้หญิงที่เจอที่โรงภาพยนตร์พัฒนากรที่ตนได้ไปสืบมา เธอชื่อนางสาวอุไร พรรณโสภณ ลูกสาวของพระพินิฐพัฒนากร หล่อนเป็นผู้หญิงสมัยใหม่แท้ ไม่กลัวผู้ชาย ซึ่งนางประไพ น้องสาวของตนนั้นก็รู้จักเธอ เขาจึงหวังว่าตนจะได้รู้จักกับนางอุไร เขาให้ความเห็นว่า ถ้าได้รู้จักกับแม่อุไร จะพอทำให้คิดถึงประเทศอังกฤษได้ และจะทำให้ชีวิตน่าอยู่มากขึ้น
ฉบับที่ ๖ ( ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เล่าถึงการพบแม่อุไรในคืนวันที่ ๒ มกราคม จากประไพที่ได้นัดเชิญให้ไปดูการแต่งไฟทางลำน้ำให้ และหลังจากนั้น ก็ได้พบปะกันอีกหลายครั้ง เขาชมว่าแม่อุนั้นสวย น่ารัก น่าพึงพอใจในหลายๆเรื่อง พูดถึงประเพณีที่ในเมืองไทยนั้น พี่น้องจูบกันไม่ได้ แตกต่างกับพวกฝรั่ง และได้พูดถึงนางกิมเน้ย ที่หลังจากเขาได้เดินผ่านหน้าร้านคุณภักดีไปกับนางอุไร เธอก็โกรธยกใหญ่ และไม่คุยกับนายประพันธ์อีก
ฉบับที่ ๙ ( ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์เล่าว่า ตนนั้นได้แต่งงานกับแม่อุไรแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม หลังจากกลับมาจากหัวหิน นายประพันธ์ได้ขอให้คุณพ่อไปขอแต่งงานกับนางอุไร ท่านไม่ค่อยเห็นด้วย ด้วยสาเหตุที่ว่า เธอเป็นผู้หญิงที่รู้จักกับผู้ชายหลายคน และก็ไกล่เกลี่ยว่า จะให้ดูไปก่อนประมาณ ๑ ปี แต่นายประพันธ์ปฎิเสธการรอคอย คุณพ่อของเขาจึงจัดการขอแม่อุไร และเมื่อแต่งงานกันแล้ว จึงได้ไปฮันนีมูนที่หันหิน
ฉบับที่ ๑๑ ( ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์เล่าเกี่ยวกับบ้านใหม่ของเขา ว่าปกติแล้ว บ้านควรจะเป็นสถานที่พักผ่อนอันพึงใจ สุขใจเพราะได้เห็นภรรยาของตนเอง แต่ตัวเขากลับไม่ได้เช่นนั้น เขากับนางอุไรกลับจากเพชรบุรีในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ด้วยสาเหตุที่ว่า เธอนั้นเบื่อการอยู่หัวเมือง และเมื่อถึงกรุงเทพ ก็ไม่มีใครไปรับ ทำให้เธอโกรธ แต่ก็บอกว่า หลังขึ้นจากเรือจ้างแล้วค่อยทะเลาะกัน เพราะการทะเลาะกันต่อหน้าคนแจวเรือดูไม่งดงาม พอมาถึงบ้านใหม่ที่ดูไม่พร้อม สียังทาไม่แห้ง ของต่างๆก็ยังไม่ได้จัด เกิด-งขึ้นเล็กน้อย และในวันต่อๆมา ก็มีเหตุการณ์ขัดใจขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่านายประพันธ์จะทำอะไร นางอุไรก็จะมองว่าผิดเสมอ จนทำให้นายประพันธ์รู้สึกเหมือนไปโรงเรียนเมื่อกลับบ้าน
ฉบับที่ ๑๒ ( ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์เล่าว่า นางอุไรนั้นแท้งลูกแล้ว เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม และสิ้นรักนายประพันธ์แล้ว แต่นายประพันธ์ก็ยอมทนอยู่ด้วยรับชะตากรรม หลังจากที่นางอุไรหายเจ็บท้องแล้ว เธอก็ชอบเที่ยวเสมอๆ พอประพันธ์ถาม นางอุไรก็ฉุนเฉียว นานๆเข้า ก็มีห้างและร้านต่างๆ ส่งใบทวงค่าใช้จ่ายมามากขึ้นจนนายประพันธ์เตือน และโดนสวนกลับมาว่า ก่อนจะแต่งงานกับเธอทำไมไม่ดูให้ดีเสียก่อนว่าเธอใช้จ่ายอะไรบ้าง และไม่ยอมเปลี่ยนตัวเอง จนประพันธ์ต้องไปยืมเงินพ่อมาใช้หนี้ให้แม่อุไร คุณพ่อของนายประพันธ์โกรธ จึงลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ว่าจะไม่ชดใช้หนี้ให้นางอุไร เมื่อแม่อุไรเห็นจึงได้แจ้งความกลับไปว่า เธอไม่ขอรับผิดชอบในเรื่องหนี้สิน และไม่ให้นายประพันธ์มีอำนาจในทรัพย์สมบัติของเธออีกต่อไป และไปอยู่บ้านพ่อของเธอ หลังจากนั้น คุณหลวงเทพปัญหาก็มาหานายประพันธ์ที่บ้าน คุยเรื่องต่างๆรวมถึงเรื่องแม่อุไร ที่เที่ยวอยู่กับพระยาตระเวนนคร ด้วยความเป็นห่วงนางอุไร นายประพันธ์จึงส่งจดหมายไปกล่าวเตือน แต่ถูกฉีกเป็นชิ้นๆกลับมา ต่อมาหลวงเทพก็มาหานายประพันธ์เพื่อบอกว่า แม่อุไรไปค้างบ้านพระยาตระเวนนครแล้ว เมื่อปรึกษากัน หลวงเทพนั้นรับธุระเรื่องขอหย่าไปพูดกับนางอุไร เธอตกลง นายประพันธ์จึงกลับมาโสดอีกครั้ง
ฉบับที่ ๑๓ ( ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์เล่าว่า ตนนั้นมีความสุขมากขึ้นมากขึ้นเมื่อเป็นโสด ถึงการที่หย่ากับนางอุไรจะทำให้ถูกบางคนนินทาติโทษ แต่เขาถือว่า การแต่งงานเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่มีใครมาสุขหรือทุกข์แทนเขาได้ ส่วนนางอุไรก็อยู่กับพระยาตระเวนที่มีนางบำเรอถึง ๗ นาง และพวกเธอก็ชอบแผลงฤทธิ์ในระหว่างที่พระยาตระเวนไม่อยู่บ้าน นางอุไรทนไม่ไหวจึงหนีไปอยู่บ้านพ่อ พระยาตระเวนก็ตามไปง้อ และให้นางอุไรอยู่บ้านอีกหลังนึงที่ถนนราชประสงค์ และได้เล่าอีกว่า ตนได้เลื่อนตัวแหน่งมาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่วนทางเสือป่า เขาได้เข้าไปประจำอยู่ในกรมม้าหลวงตามที่สมปรารถนา และได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่เอก
ฉบับที่ ๑๕ ( ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เล่าถึงงานเฉลิมพระชนมพรรษาของปีนี้ว่าค่อนข้างสนุก พระยาตระเวนก็เห็นด้วยเช่นกัน เนื่องจากยังเป็นชายโสดเพราะยังไม่ได้เป็นสามีภรรยากันโดยทางราชการ และในช่วงนั้น พระยาตระเวนก็ได้ควงกับผู้หญิงคนหนึ่งบ่อยๆ เธอชื่อ นางสร้อย แต่นางอุไรก็ทำอะไรไม่ได้มาก เพราะถ้าเลิกกับพระยาตระเวนจะได้รับความลำบากและต้องกลับไปง้อพ่อ ซึ่งเธอได้อวดดีไว้แล้วว่าไม่จำเป็นต้องพึ่งพ่ออีกต่อไป จึงยอมที่จะอยู่นิ่งเฉย นอกจากนี้ ยังได้พูดถึงสภาพสังคมฝรั่งว่า พวกฝรั่งเห็นว่า การมีภรรยาหลายคนไม่ทำให้ได้รับความเสื่อมเสีย เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวในบ้าน
ฉบับที่ ๑๖ ( ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับงานที่ตนเองทำอยู่นั้นว่า เป็นสิ่งที่ให้เกิดความเพลิดเพลินและมีประโยชน์ ได้พบปะพูดคุยกับผู้อื่น และรู้ความคิดที่กว้างขวางขึ้น เพราะปกติ ต่างคนต่างมีราชการไปทำที่ออฟฟิศ พอหมดเวลาก็แยหย้ายกันไป ไม่ได้พบปะพูดคุยกัน พูดถึงสโมสรที่ตั้งใหม่ขึ้นหลายแห่ง ว่าดูไม่ค่อยจะสำเร็จได้เลย ส่วนสโมสรไทยนั้นที่ยั่งยื่นที่สุด คือสามัคยาจารย์สมาคม เป็นของสำหรับจำเพาะข้าราชการกระทรวงเดียว และกระทรวงนั้นก็ยังหนุนหลังสมาคมไว้อยู่ และได้พูดถึงการเล่นละครที่ผู้ชายเล่นเป็นตัวผู้ชาย ผู้หญิงเล่นเป็นตัวผู้หญิง ที่ตนดูของคณะละครศรีอยุทธยารม ว่าเป็นละครที่แสดงดี ผู้หญิงที่เป็นตัวละครในคณะนี้ก็ยังสาวๆอยู่ ถึงจะมีสามีและบุตรแล้วก็ตาม ผู้หญิงที่มีลูกแล้วไม่จำเป็นต้องแก่อย่างที่เขาว่ากัน ผู้ชายที่เบื่อผู้หญิงที่มีลูกแล้ว ก็ต้องโทษผู้หญิงด้วยเช่นกัน เพราหมายคนมักเข้าใจผิดว่า พอมีลูกก็ชอบปล่อยตัวให้ทรุดโทรม แต่ถ้าผู้หญิงดูแลตัวเอง ปฎิบัติให้สามีรู้สึกมีความสุข ก็ไม่จำเป็นต้องห้ามเขาไปมีคนอื่นเลย เพราะเขาจะรู้สึกว่า มีแค่คนเดียวก็มีความสุขพอแล้ว
ฉบับที่ ๑๗ ( ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เล่าว่าตนนั้นได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่ใหญ่แล้ว และเมื่อกลับบ้านได้ไม่กี่วัน นางอุไรก็ได้มาหาที่บ้าน และขอให้นายประพันธ์ช่วยดูแลตนอีกครั้ง ด้วยเหตุว่า พระยาตระเวนต้องการบ้านที่ถนนราชประสงค์ให้นางสร้อย เมียรักของเขาอยู่ เขาจึงขอให้นางอุไรย้ายไปอยู่ที่อื่น เงินก็ไม่มีใช้สอย ครั้นจะกลับไปอาศัยพ่อก็กลัวจะเสียหน้า เพราะเคยพูดอวดอ้างไว้ นายประพันธ์แนะนำให้นางอุไรกลับไปง้อพ่อของเธอ นางจึงไปง้อและกลับไปอยู่กับพ่อของตน
ฉบับที่ ๑๘ ( ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เล่าว่า นางอุไรได้ตกลงแต่งงานกับหลวงพิเศษ ผลพานิชที่เป็นพ่อค้าแล้ว ประพันธ์จึงคลายกังวล และนายประพันธ์เองก็ได้รักกับผู้หญิงคนหนึ่ง เธอชื่อนางสาวศรีสมาน เป็นลูกสาวเจ้าพระยาพิสิฐเสวก ทั้งสองฝ่ายคุยจนเป็นที่ต้องใจกันแล้ว และนายประพันธ์ก็ได้ลงท้ายไว้ว่า จะให้นายประเสริฐมาเป็นเพื่อนเจ้าบ่าว
วิเคราะห์คุณค่าของเรื่องหัวใจชายหนุ่ม
คุณค่าของเรื่อง
๑. ด้านเนื้อเรื่อง หัวใจชายหนุ่มเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถในงานพระราชนิพนธ์ มีแก่นเรื่องชัดเจน น่าอ่าน น่าติดตาม สนุกด้วยลีลาและโวหารอันเฉียบคม แฝงพระอารมณ์ขัน เช่น การแต่งกายของกิมเน้ยที่แต่งตัวดีแต่มีเครื่องเพชรมากเกินไป
๒. ด้านความคิด เรื่องหัวใจชายหนุ่มมุ่งเสนอให้ผู้อ่านเห็นว่า นักเรียนนอกในสมัยนั้นเป็นผู้นำ "แฟแช่น" อย่างสุดโต่ง เมื่อปฏิบัติไปแล้วผิดพลาดก็ค้นพบตัวเองว่าต้องหาทางเลือกใหม่ที่เหมาะสม ทำให้ได้คิดว่า เราควรรับและปรับใช้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย
๓. ด้านความรู้ เรื่องหัวใจชายหนุ่มแสดงให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกายที่เริ่มไว้ผมยาว ค่อยๆเลิกนุ่งโจงกระเบน หันมานุ่งผ้าซิ่น การแสดงละครที่ใช้ชายจริงหญิงแท้ การใช้คำทับศัพท์และสำนวนต่างประเทศเพื่อแสดงความเป็นนักเรียนนอกของคนในสมัยนั้น
ทำใบงานเรื่องหัวใจชายหนุ่ม